VIDEO
ประเทศออสเตรเลียตั้งอยู่ทางซีกโลกใต้ ระหว่าง มหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ด้วยพื้นที่ขนาดกว่า 7 ล้านตารางกิโลเมตร จึงทำให้
ออสเตรเลียได้รับการจัดอันดับว่า เป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับ 6 ของโลก และเป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของโลกอีกด้วย มีเมืองแคนเบอร์ร่า
(Canberra) เป็นเมืองหลวง ประกอบด้วยรัฐใหญ่ 6 รัฐ และเขตการปกครองตนเอง 2 เขต คือ
Australian Capital Territory
มณฑลนครหลวงของออสเตรเลีย แคนเบอร์ร่า (Canberra) คือเมืองหลวงของประเทศ เป็นศูนย์กลาง
การปกครอง ลักษณะตัวเมืองทันสมัย เพราะมีการวางผังเมืองอย่างดีเยี่ยม เป็นที่ตั้งขององค์กรระดับชาติ
และหน่วยงานสถานทูตของประเทศต่างๆ รวมทั้งสถานทูตไทย
New South Wales
นิวเซาท์เวลส์ เมืองหลวงชื่อซิดนีย์ (Sydney) รัฐนี้มีประชากรหนาแน่นมากที่สุด มีชาวไทยและนักศึกษาไทย
มากที่สุดด้วย เป็นรัฐที่พัฒนาทางอุตสาหกรรมมากที่สุดในออสเตรเลีย ซิดนีย์เป็นเมืองที่คึกคัก มีสีสัน
มีชีวิตชีวา สัญลักษณ์ของเมืองคือ โอเปร่าเฮาส์ (Opera House) และสะพานข้ามอ่าวซิดนีย์
(Sydney Harbour Bridge)
Northern Territory
มณฑลตอนเหนือ มี เมืองดาร์วิน (Darwin) เป็นเมืองหลวง เนื้อที่ส่วนใหญ่จะแห้งแล้ง มีพื้นที่เกษตรกรรม
เพียง 10% ภูมิอากาศไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก แต่เป็นแหล่งผลิตเหล้าไวน์ชั้นเยี่ยม
Queensland
ควีนส์แลนด์ เป็นรัฐใหญ่อันดับสอง มีเมืองหลวงคือ บริสเบน (Brisbane) รัฐนี้ได้ชื่อว่าเป็นรัฐที่มีแสงแดด
(Sunshine State) มีแนวประการังที่ยาวที่สุดในโลก ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลกชื่อ Great Barrier Reefs มีป่าดงดิบและป่าชื้นเขตร้อนที่อุดมสมบูรณ์
South Australia
เซาท์ออสเตรเลีย เมืองหลวงชื่อ อะดิเลด (Adelaide) ครั้งหนึ่งเมืองนี้ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองแห่งเทศกาล" เนื้อที่ส่วนใหญ่แห้งแล้ง มีพื้นที่เกษตรกรรมเพียง 10% ภูมิอากาศไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก แต่เป็นแหล่งผลิตเหล้าไวน์ชั้นเยี่ยม
Tasmania
ทัสมาเนีย เมืองหลวงคือโฮบาร์ต (Hobart) ทัสมาเนียเป็นรัฐที่เล็กที่สุด ลักษณะเป็นเกาะ ตั้งอยู่ห่างจากรัฐวิคตอเรียแผ่นดินใหญ่ ประมาณ 240 กิโลเมตร มีอากาศหนาวที่สุด สภาพภูมิประเทศเป็นหุบเขาและที่ราบสูง ทิวทัศน์สวยงามยิ่ง จนได้รับการขนานนามว่าเป็นสวิตเซอร์แลนด์ของออสเตรเลียเป็นเมืองสงบ ค่าครองชีพและค่าเล่าเรียนถูก เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยทัสมาเนีย (University of Tasmania)
Western Australia
เวสเทอร์นออสเตรเลีย เมืองหลวงคือเพิร์ธ (Perth) เป็นรัฐที่มีพื้นที่มากที่สุด อุดมสมบูรณ์ด้วยเหมืองแร่ และแร่ทองคำ มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 12,500 กิโลเมตร อาชีพสำคัญของประชากรคือการทำประมงและทำเหมืองแร่ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งผลิตเพชรได้มากเป็นอันดับสามของโลกเพิร์ธเป็นเมืองที่สะอาดสวยงามและอยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด ใช้เวลาเดินทางแค่ 6 ชั่วโมงครึ่ง มีเวลาต่างกับประเทศไทย เพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น
Victoria
วิคตอเรีย รัฐนี้ได้ชื่อว่า Garden State เนื่องจากมีสวนสาธารณะมากกว่ารัฐอื่น เมืองหลวงคือเมลเบิร์น (Melbourne) เป็นเมืองเศรษฐกิจ ใหญ่เป็นอันดับสองและ เป็นเมืองที่นักศึกษาไทยไปศึกษามากเป็นอันดับสอง
สภาพภูมิอากาศ
เนื่องจากพื้นที่ของทวีปออสเตรเลียอยู่ทางตอนใต้ของเสันศูนย์สูตร จึงทำให้มีสภาพอากาศต่างจากซีกโลกเหนือ กล่าวคือถ้าประเทศ
ทางซีกโลกใต้เป็นฤดูหนาว ทางซีกโลกเหนือ ก็จะเป็นฤดูร้อน แต่สภาพอากาศทั่วไปของออสเตรเลีย จะเป็นแบบเขตร้อนจนถึงเขตอบอุ่น
ซึ่งจะต่างกันไปในแต่ละรัฐ จะเป็นแบบเขตร้อนจนถึงเขตอบอุ่น อากาศจะหนาวที่สุดในบริเวณที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงใต้และในรัฐทัสมาเนีย
(Tasmania Territory) และเป็นเพียงสองแห่งที่มีหิมะตกเสมอ ปรกติแล้วเดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ ในระหว่างเดือนมีนาคม
ถึงพฤษภาคมเป็นเดือนที่มีฝนตกชุก และเดือนที่อากาศหนาวที่สุดคือเดือนกรกฎาคม
ภาษา
นอกจากภาษาอังกฤษ จะเป็นภาษาทางราชการของออสเตรเลียแล้ว ในกลุ่มชนพื้นเมืองก็มีการใช้ภาษาถิ่นของตัวเองด้วย
ศาสนา
ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ และเป็นประเทศที่ให้เสรีภาพในการนับถือศาสนาอื่นๆด้วย เช่น พุทธ อิสลาม และยิว เป็นต้น
ระบบไฟฟ้า
ออสเตรเลียใช้กระแสไฟฟ้า 220-240 โวลต์ (V) แต่ใช้ปลั๊กไฟแบบสามขา ถ้าหากจะใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าจากประเทศไทยต้องใช้ Adapter
ซึ่งสามารถหาซื้อ Adapterได้ทั้งในประเทศไทยและออสเตรเลีย
ระบบเงินตรา
ออสเตรเลียใช้สกุลเงินดอลลาร์ โดย 1 ดอลลาร์จะมีค่าเท่ากับ 100 เซ็นต์ และมีการแบ่งค่าของเงินดังนี้ คือ ค่าของธนบัตรมีแบบใบละ
5, 20, 50 และ 100 ดอลลาร์ ส่วนเหรียญที่ใช้ จะมี 2 แบบคือเหรียญทอง จะมีเหรียญละ 1 ดอลลาร์ และ 2 ดอลลาร์ ส่วนเหรียญเงินจะ
มีแบบเหรียญละ 5, 10, 20 และ 50 เซ็นต์
ระบบการศึกษาประเทศออสเตรเลีย
-
หลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนต่างชาติ (ELICOS)
-
การศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา (Primary and Secondary Education)
-
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Foundation Studies)
-
อาชีวศึกษาและการฝึกอบรม (Vocational Education and Training)
-
มหาวิทยาลัย (University)
หลักสูตร ELICOS English Language Intensive Course for Overseas Students
ภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนต่างชาติ
เป็นหลักสูตรเพื่อให้นักเรียนต่างชาติได้พัฒนาภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน การศึกษาต่อ หรือใช้ในการทำงาน มีหลักสูตรภาอังกฤษ เพื่อให้ตรงกับวัตถุประสงค์ของผู้สมัคร เพื่อการศึกษา ต่อในสาขาวิชาเฉพาะด้านหรือเป็นหลักสูตรที่จัดให้มีกิจกรรมควบคู่กับการเรียนภาษาอังกฤษ
Summer Course ต่างๆ โดยมีการเปิดสอนในมหาวิทยาลัย สถาบันอาชีวศึกษา วิทยาลัยเอกชน และสถาบันภาษาของเอกชน โดยเปิดสอนตลอดทั้งปี ลงสมัครได้ตั้งแต่ 4 - 48 สัปดาห์ โดยอาจมีการสอบเพื่อวัดระดับความรู้ภาษาอังกฤษก่อนเข้าเรียน เพื่อที่จะได้จัดชั้นเรียนและหลักสูตรให้เหมาะสมกับพื้นฐานความรู้โดยอยู่ภายใต้การควบคุมดูแล และการรับรองคุณภาพจาก NEAS (National ELT Accreditation Scheme) หรือ English Australia
หลักสูตรเรียนภาษาอังกฤษต่างๆ
•
ภาษาอังกฤษทั่วไป
•
ภาษาอังกฤษเชิงธุรกิจ
•
ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาต่อ
•
ภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เชิงวิชาชีพ
•
ภาษาอังกฤษเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าเรียนในชั้นมัธยมศึกษา – ปริญญาตรี/โท
คะแนนภาษาอังกฤษที่ใช้ในการสมัครเข้าเรียน
ระดับการศึกษา
IELTS
TOEFL
แบบข้อเขียน
แบบคอมพิวเตอร์
มัธยมศึกษา
5.0 – 5.5
500 – 525
173 – 195
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
5.5 – 6.5
525 – 550
195 – 213
วิทยาลัยเอกชน
5.5
525
195
วิทยาลัย TAFE
5.5
550
195
มหาวิทยาลัย
6.0 – 7.0
550 – 600
213 – 250
การศึกษาระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา (Primary and Secondary Education)
การศึกษาในประเทศออสเตรเลียอยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละรัฐ มีทั้งดำเนินการโดยรัฐบาล องค์กรเอกชน และองค์กรศาสนา โรงเรียนมีระบบและหลักสูตรการศึกษาเหมือนกันในระดับประเทศ แต่การกำหนดอายุการศึกษาระดับโรงเรียน ระหว่างรัฐ อาจแตกต่างกันเช่น
- ประถมศึกษาต้องมีอายุตั้งแต่ 6 – 11/12 ปี
- มัธยมศึกษาต้องมีอายุ 11 – 15 ปี หรือ 12 – 16 ปี
หลังจากนั้นนักเรียนสามารถเลือกเรียนต่อชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายชั้นปีที่ 11 และ 12 ซึ่งเป็นข้อกำหนดในการเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาโรงเรียนในออสเตรเลียมีทั้งโรงเรียนรัฐบาล และเอกชน โรงเรียนรัฐบาลเป็นประเภทไป-กลับ ส่วนโรงเรียนเอกชนมีทั้งไป-กลับ และโรงเรียนประจำ นอกจากนี้ยังแบ่งเป็นโรงเรียนหญิงล้วน ชายล้วน หรือสหศึกษา โดยทั่วไป จะเริ่มรับนักเรียนต่างชาติเข้าเรียน ทั้งโรงเรียนรัฐบาลและเอกชน ตั้งแต่ชั้นปีที่ 7 (เทียบเท่ามัธยมปีที่1)
สำหรับในระดับประถมศึกษา โรงเรียนจะพิจารณารับนักเรียนเป็นรายๆ ไป นักเรียนต่างชาติที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี รัฐบาลออสเตรเลีย กำหนดให้มี ผู้ปกครองดูแล (Guardian) ซึ่งอาจจะเป็นญาติพี่น้อง หรือคนที่รู้จัก ถ้าไม่มีญาติพี่น้องทางโรงเรียนที่นักเรียนสมัครเข้าเรียนจะช่วยจัดหาผู้ปกครองให้โดยต้องเสียค่าธรรมเนียม แต่ถ้าเรียนในโรงเรียนประจำก็จะมีอาจารย์ในโรงเรียนเป็นผู้ดูแลแทน
หน่วยการศึกษาของแต่ละรัฐจะจัดหลักสูตรหรือเพิ่มเติมวิชาเรียน ทั้งนี้ต้องยู่ในความเห็นชอบจากรัฐบาล มาตรฐานของหลักสูตรจะอยู่ในระดับที่ดี ทัดเทียมกันในทุกรัฐ โดยจัดให้มีการสอบมาตรฐานสำหรับประกาศนียบัตรมัธยมศึกษาตอนปลายรายวิชาที่บรรจุอยู่หลักสูตรระดับมัธยมศึกษาโดยทั่วไป ได้แก่
คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ สังคมศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ศิลปศึกษา คอมพิวเตอร์ สุขศึกษา การสื่อสาร เป็นต้น
โดยทั่วไปนักเรียนจะเลือกเรียนวิชาหลักๆ 4 – 5 วิชา ซึ่งเป็นวิชาที่เกี่ยวข้องกันกับสาขาวิชาในระดับอุดมศึกษา ผลการเรียนที่ได้ในระดับชั้นปีที่ 11 และ 12 มีความสำคัญมากในการเลือกสาขาที่ต้องการเรียนในมหาวิทยาลัย เนื่องจากมหาวิทยาลัยไม่มีระบบการสอบเข้าที่เรียกว่า Entrance Examination การรับนักเรียนเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัย จึงกำหนดจากคะแนนเฉลี่ย ระหว่างการสอบปลายภาค โดยคณะกรรมการการศึกษากลางของรัฐและคะแนนประเมินผลจากโรงเรียน
แบ่งออกเป็น 4 เทอม คือ ประมาณ 10 สัปดาห์ /เทอม
เทอมที่ 1 เริ่มตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์จนถึงเดือนเมษายน
เทอมที่ 2 เริ่มต้นสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนเมษายน จนถึงปลายสัปดาห์ที่สี่ของเดือนมิถุนายน
เทอมที่ 3 เริ่มกลางเดือนกรกฎาคม ถึงสิ้นสุดสัปดาห์ที่สองของเดือนกันยายน
เทอมที่ 4 เริ่มประมาณต้นเดือนตุลาคม ถึงสัปดาห์ที่สองของเดือนธันวาคม
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Foundation Studies)
เป็นหลักสูตรเตรียมความพร้อมให้แก่นักเรียนต่างชาติที่มีคุณสมบัติไม่เพียงพอ โดยใช้เวลาในการเรียนตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี เนื้อหาของหลักสูตรมาจากหลักสูตรชั้นปีที่ 11 - 12 + วิชาพื้นฐานในสาขาที่นักเรียนต้องการเรียน ในระดับปริญญาตรี เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ คอมพิวเตอร์ธุรกิจ บัญชี สังคมและประวัติศาสตร์ เป็นต้น หลักสูตรนี้แบ่งออกเป็นสายศิลป์ สายวิทย์ และธุรกิจ ก่อนเข้าเรียนนักเรียนต้องจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (เกรดเฉลี่ย3+) หรือมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือ ปวช. (เกรดเฉลี่ยไม่ควรต่ำกว่า 2.5) และมีผลคะแนนสอบ IELTS หรือ TOEFL ตามที่สถาบันการศึกษาแต่ละแห่งกำหนดไว้ เมื่อนักเรียนสอบผ่านทุกวิชาของหลักสูตร และได้คะแนน ตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ก็สามารถจะเรียนต่อในระดับปริญญาตรีได้เลย โดยปกติหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานเปิดสอนในมหาวิทยาลัย และโรงเรียนบางแห่ง และเปิดรับนักเรียน 2 ครั้งต่อปี คือ ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ และ เดือนกรกฎาคม
สำหรับนักศึกษาไทยที่เรียนจบชั้นปีที่ 1 ในระดับปริญญาตรีในประเทศไทยแล้ว สามารถเรียนระดับปริญญาตรีได้เลย
อาชีวศึกษาและการฝึกอบรม (Vocational Education and Training)
สถาบันอาชีวศึกษา และการฝึกอบรม ทั้งของรัฐบาล และเอกชน ดำเนินการสอนหลากหลายหลักสูตรในคุณวุฒิระดับต่างๆ หลักสูตรอาชีวศึกษาส่วนใหญ่เน้นการปฏิบัติมากกว่าภาคทฤษฎี คุณวุฒิที่ได้รับสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพ หรือเพื่อประกอบการศึกษาต่อ หรือเพื่อพัฒนาทักษะเฉพาะตัว หลักสูตรต่างๆได้รับการพัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือของภาคอุตสาหกรรม และตลาดแรงงาน หลักสูตรระดับนี้เปิดสอนโดยสถาบันของรัฐบาล เรียกว่า วิทยาลัยเทคนิคและการศึกษาต่อเนื่อง (Technical and Further Education- TAFE) และวิทยาลัยเอกชน ซึ่งตั้งกระจายอยู่ทั่วภูมิภาคของประเทศ เปิดสอนหลากหลายหลักสูตร ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 3 ปี ได้แก่ ธุรกิจ เทคโนโลยีสารสนเทศ การออกแบบ การก่อสร้าง วิศวกรรม เกษตรกรรมแฟชั่น การเพาะปลูก ทัศนศิลป์ แอนนิเมชั่น มัลติมีเดีย คอมพิวเตอร์ การโรงแรม และการท่องเที่ยว ฯลฯ ส่วนใหญ่เป็นหลักสูตรต่อเนื่องกับหลักสูตรของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้เพื่อให้นักศึกษาได้มี โอกาสศึกษาต่อใน ระดับปริญญาตรีได้เลย
การรับสมัครนักศึกษาส่วนใหญ่ จะเปิดช่วงเดือน กุมภาพันธ์ บางสาขาวิชา เปิดรับเดือนกรกฎาคมส่วนวิทยาลัยเอกชนเปิดรับนักศึกษาเข้าเรียนหลายครั้งต่อปี หลักสูตรอาชีวศึกษาทั่วๆ ไป แบ่งออกเป็นระดับต่างๆ ดังนี้
•
ประกาศนียบัตรวิชาชีพระดับ 1 – 4 (Certificate I – IV) เป็นหลักสูตรวิชาชีพขั้นพื้นฐาน เน้นความรู้และทักษะระดับปฏิบัติงานระยะเวลาหลักสูตรเริ่ม ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี
•
อนุปริญญา (Diploma) เป็นหลักสูตรที่วางพื้นฐานสำหรับเตรียมนักศึกษาเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม ใช้เวลาเรียน 1 – 2 ปี หลายหลักสูตรมีการเชื่อมโยงกับหลักสูตรระดับปริญญาตรี และอาจได้รับโอนหน่วยกิตได้สูงสุด 1 ปี บางมหาวิทยาลัยเปิดสอนหลักสูตรระดับนี้เช่นกัน
•
อนุปริญญาชั้นสูง (Advance Diploma) หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความก้าวหน้าสูงกว่าตำแหน่งหัวหน้างาน ในเวลาเรียน 2 – 3 ปี สามารถโอนหน่วยกิตไปเรียนต่อระดับปริญญาตรีได้ นักศึกษาที่มีผล IELTS ประมาณ 5.5 หรือ TOEFL ประมาณ 525 สามารถสมัครเข้าเรียน
ได้เลยถ้าไม่มีก็สามารถสมัครเรียนภาษาอังกฤษก่อนในสถาบันนั้นๆ โดยไม่ต้องสอบ IELTS หรือ TOEFL ถ้าเรียนภาษาถึงเกณฑ์ตามที่กำหนดไว้ โดยสถาบันจะวัดผลจากการเรียนภาษาอังกฤษของสถาบันเอง
มหาวิทยาลัย (University)
มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ เปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรีถึงปริญญาเอก มีบางแห่งเท่านั้นที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุปริญญาด้วย ครอบคลุมหลากหลายสาขาวิชา อาทิเช่น วิทยาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์ การแพทย์ และธุรกิจ นักศึกษาต่างชาตินิยมศึกษาด้านธุรกิจ การบริหาร และการจัดการ เทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ ฯลฯ ในระดับมหาวิทยาลัยแบ่งระดับการศึกษาออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับปริญญาตรี (Undergraduate) และระดับบัณฑิตศึกษา (Postgraduate)
การศึกษาระดับปริญญาตรี (Bachelor Degree)
ประเทศออสเตรเลียไม่มีระบบเอ็นทรานซ์ เพื่อเข้าศึกษาในมหาวิทยาลัย การรับนักศึกษาเข้าเรียนในระดับปริญญาตรี พิจารณาจากผลการเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในกรณีที่เป็น นักเรียนต่างชาติ มหาวิทยาลัยกำหนดคุณสมบัติในการเข้าเรียนระดับปริญญาตรีของนักเรียนจากประเทศต่างๆ แตกต่างกันไป เช่น ในกรณีนักเรียนไทยที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และมีผลการเรียนดีเด่น บางมหาวิทยาลัยอาจรับพิจารณาเพื่อเข้าเรียนในระดับปริญญาตรีได้เลย หลายสถาบันพิจารณารับนักศึกษาที่เรียนจบชั้นปีที่ 1
ในระดับมหาวิทยาลัยแล้วเท่านั้น นอกจากนี้มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ ในออสเตรเลียไม่ยอมรับผลการสอบเทียบจากประเทศไทย หลายสถาบันเปิด หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน (Foundation Studies) สำหรับผู้ที่มีคุณสมบัติไม่เพียงพอที่จะเข้าเรียนในระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นหลักสูตรสำหรับนักศึกษา
ต่างชาติโดยเฉพาะ โดยทั่วไปใช้เวลาในการเรียน 1 ปี
ปริญญาตรีเกียรตินิยม (Bachelor with Honors)
ในกรณีที่นักศึกษามีผลการเรียนที่ดี ในระดับปริญญาตรี ก็สามารถขอศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีเกียรตินิยม ได้โดยใช้เวลาศึกษาอีก 1 ปี รูปแบบของการเรียนปริญญาเกียรตินิยมประกอบด้วย ทั้งภาคบรรยาย และภาควิทยานิพนธ์ ในกรณีที่สามารถสอบได้ เกียรตินิยมอันดับหนึ่งจะได้รับรองคุณวุฒิให้เทียบ
เท่าปริญญาโท ซึ่งจะทำให้สามารถเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกได้เลย โดยไม่ต้องเรียนปริญญาโท
การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา
ประกาศนียบัตรบัณฑิตศึกษา (Graduate Certificate)
เป็นหลักสูตรระยะสั้น 6 เดือน เพื่อเสริมความรู้เฉพาะด้านมีหลากหลายสาขาให้นักศึกษาเลือกเรียน เช่น เรียนจบปริญาตรีแล้วต้องการเรียนในสาขาอื่นๆเพิ่มเติม หรือนักเรียน ต่างชาติที่สมัครเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท แต่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสม อาจให้นักศึกษาลงทะเบียน เรียนในระดับนี้ เพื่อประเมินผลการเรียนก่อน
อนุปริญญาโท (Graduate Diploma)
เป็นหลักสูตรบัณฑิตศึกษาใช้ระยะเวลาศึกษา ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 1 ปี สำหรับผู้ที่จบปริญญาตรีแล้วต้องการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ในหลายมหาวิทยาลัย จัดหลักสูตรอนุปริญญาโท ให้เป็นหลักสูตรปีแรกของปริญญาโท หากนักศึกษาได้รับผลการเรียนดีก็สามารถผ่านเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทได้เลย
หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรแบบเข้าชั้นเรียน ฟังคำบรรยาย และอาจมีการทำ Project หรือมีการฝึกภาคปฏิบัติในบางสาขาวิชา
ปริญญาโท (Master’s Degree)
การศึกษาระดับนี้ใช้ระยะเวลาศึกษา 1 – 2 ปี ขึ้นอยู่กับสาขาวิชาที่เลือกเรียน และรูปแบบการเรียน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ
•
Coursework เป็นการเรียนแบบเข้าฟังคำบรรยาย
•
Research เป็นการเรียนแบบการทำวิทยานิพนธ์
•
Coursework and Research เป็นการเรียนแบบผสมทั้งภาคบรรยาย และการเขียนวิทยานิพนธ์บางสถาบันอนุญาตให้นักศึกษาเลือกอัตราส่วนระหว่างการเรียนทั้งสองแบบ เช่น นักศึกษาอาจจะเลือก Coursework 50% และ Research 50% หรือ Coursework 70% Research 30% บางสาขาวิชาโดยเฉพาะ MBA รับผู้ที่สำเร็จปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ แต่จะต้องมีประสบการณ์อย่างน้อย 1 – 2 ปี ในบางกรณีสำเร็จสาขาหนึ่งแล้ว ต้องการเรียนต่อปริญญาโทอีกสาขาหนึ่ง ทางมหาวิทยาลัยอาจให้ทดลองเรียน 1 ปีก่อน ซึ่งเรียกว่า “Master Qualifying” หรือ “Preliminary Program” เพื่อประเมินผลการเรียนว่าจะสามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโทได้หรือไม่
ปริญญาเอก (Doctoral Degree)
ระยะเวลาศึกษาประมาณ 3 – 5 ปี เป็นหลักสูตรวิจัยค้นคว้า คือ เขียนวิทยานิพนธ์เพียงอย่างเดียว ขณะนี้ บางมหาวิทยาลัยพิจารณาเพิ่มหลักสูตร Coursework เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนระดับปริญญาเอกนี้ด้วย แต่ยังเป็นส่วนน้อย ผู้ที่จะเรียนระดับปริญญาเอกควรเสนอโครงร่างการทำวิจัย เพื่อหาอาจารย์ที่สนใจหัวข้อการวิจัย และยอมรับเป็น Supervisor ให้ ดังนั้นจึงควรมีพื้นฐานการทำวิจัยในระดับปริญญาโทมาก่อน
ระบบการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย
ปรัชญาการเรียนการสอนของออสเตรเลียมุ่งเน้นให้ผู้เรียนรู้จักคิด รู้จักตั้งคำถาม และรู้จักค้นคว้าค้นหาคำตอบได้ด้วยตัวเอง ซึ่งแตกต่างจากระบบการเรียนการสอนของไทย ที่เรียนรู้โดยการท่องจำ นักศึกษาไทยที่ประสงค์จะไปศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย จึงควรทำความเข้าใจ และปรับตัวให้เข้ากับระบบการเรียนการสอนและวิธีการประเมินผล การบรรยาย (Lectures) ก่อนเริ่มเรียนแต่ละวิชา อาจารย์ผู้บรรยายจะแจกโครงร่าง ซึ่งระบุเนื้อหาสาระของวิชาที่จะสอน และรายชื่อหนังสือประกอบการค้นคว้า เรียกว่า Subject Outlines เพื่อนักศึกษาจะได้เตรียมตัวล่วงหน้า โดยทั่วไป อาจารย์ผู้บรรยายจะอภิปรายเนื้อหา หัวข้อที่สอนจากตำราหลายเล่มและจากแนวคิดหลายแนว นักศึกษาจำเป็นต้องค้นคว้าอ่านหนังสือเล่มอื่นที่อาจารย์แนะนำด้วย ชั้นเรียนขนาดใหญ่บางชั้นมีนักศึกษาเป็นร้อย ชั้นเรียนขนาดเล็กบางชั้นมีแค่ 5 – 10 คน ขึ้นอยู่กับสาขาวิชาที่เปิดสอนว่า เป็นวิชาพื้นฐานภาคบังคับ หรือวิชาเลือก การเรียนกลุ่มย่อยและการทดลอง (Tutorials and Laboratory Sessions) บางวิชาอาจกำหนดให้มีการเรียนกลุ่มย่อย สัปดาห์ละครั้งนอกเหนือจากชั้นบรรยาย กลุ่มย่อยจะประกอบด้วยนักศึกษา 5 – 10 คน โดยมีอาจารย์ช่วยสอน (Tutor) เป็นผู้นำกลุ่ม 1 คน นักศึกษามีโอกาสซักถามข้อข้องใจและทำความเข้าใจกับเนื้อหาวิชาวิชาในรายละเอียดให้มากขึ้นมีโอกาสแสดงความคิดเห็นของตนเอง และฟังความคิดเห็นของคนอื่นๆ เพื่อก่อให้เกิดความเข้าใจและแตกฉานในวิชานั้นๆ มากขึ้น สำหรับสาขาวิชาวิทยาศาสตร์ นักศึกษาทุกคนจะต้องมีชั่วโมงบังคับ เรียกสั้นๆ ว่า “Prac” (Practicals)
นักศึกษาจะขาดไม่ได้ในห้องปฏิบัติการจะมีเจ้าหน้าที่ (Laboratory Technicians) ให้ความช่วยเหลือ แนะนำการใช้อุปกรณ์ต่างๆ มีอาจารย์เป็นผู้สาธิตให้ดู (Demonstrators) และเป็นผู้ควบคุมการทดลองสัมมนา (Seminars) การสัมมนาจะเป็นกลุ่มย่อยโดยเน้นเฉพาะหัวข้อย่อยของเนื้อหาหลักที่สอนเท่านั้นการค้นคว้าในห้องสมุด (Libraries) เป็นหัวใจของการเรียนระดับมหาวิทยาลัย เพราะเป็นแหล่งข้อมูลและความรู้ที่สำคัญที่สุดที่นักศึกษาต้องใช้ค้นคว้า การรู้วิธีการใช้ห้องสมุดอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งจำเป็นมาก โดยทั่วไปนักศึกษา ควรต้องค้นคว้าในห้องสมุดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 24 ชั่วโมง หรือวันละ 3 – 4 ชั่วโมง นักศึกษาควรถือคติว่า ถ้าว่างจากการเรียนเมื่อใดต้องไปห้องสมุด
การประเมินผล มีการประเมินผลจากองค์ประกอบหลายอย่าง จากการสอบ โดยมีหลายแบบอาจมีการสอบย่อย เรียกกันว่า Quiz ซึ่งอาจสอบเมื่อใดก็ได้ และสอบใหญ่กลางภาค และปลายภาค รวมถึงการสอบที่นักศึกษาสามารถนำตำราเข้าห้องสอบได้ เรียกว่า Open Book Exam หรือบางทีอาจารย์ให้ข้อสอบกลับไปทำที่บ้าน เรียกว่า Take Home Exam
การแสดงผลการเรียน
โดยทั่วไปผลการเรียนแบ่งเป็น 5 ระดับ คือ ดีมาก (High Distinction) ดี (Distinction) พอใช้ (Credit) ผ่าน (Pass) และตก (Fail)